หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อยากหยุดเวลา


ยังคงอยู่ที่เรื่องการใช้คำต่างๆ พูดถึงกาลเวลานะคะ คราวที่แล้วพูดไป 3 คำหลักๆ คือ in on at คราวนี้จะพูดถึงคำอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ที่มีใช้กันแพร่หลาย แต่ละคำมีวิธีใช้และความหมายแตกต่างกันไป วิธีใช้ส่วนใหญ่คือดูความหมาย แต่บางทีก็มีกฎกติกา มารยาทที่ต้องคำนึงถึงกันด้วย ดูตามไปเลยนะคะ

as ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน คำนี้เป็นคำสันธาน (conjunction) ค่ะอาจจะแปลกไปจากคำอื่น วิธีใช้คือเชื่อม 2 เหตุการณ์เข้าด้วยกันแสดงว่าในเวลาที่เกิดเหตุการณ์หนึ่ง อีกเหตุการณ์ก็เกิดพร้อมไปด้วย
Brad arrived home as Angelina was cooking.
(แบรดมาถึงบ้านขณะที่แอนเจลิน่ากำลังทำอาหาร)
บางทีมีการใช้ just ด้วย เพื่อเน้นเวลาว่าตอนนั้นเป๊ะเลย เช่น
Just as I entered the room, they all screamed.
(ทันทีที่ฉันเข้าไปในห้อง พวกเขาก็กรี๊ดกันทั้งหมด)
หรือ มีมากกว่าแค่คำเดียวโดดๆ กลายเป็น as soon as มีความหมายว่าทันทีที่เกิดเหตุการณ์หนึ่ง อีกเหตุการณ์ก็เกิดทันที
As soon as Jim graduated, his dad bought him a car.
(ทันทีที่จิมเรียนจบ พ่อเขาก็ซื้อรถให้ 1 คัน)


by เป็นบุพบท (preposition) ใช้นำหน้าเวลา มีความหมายว่า ก่อนหน้านั้น หรือจนถึงเวลาที่กำหนด เช่น
I hope to finish my project by the end of March.
(ฉันหวังว่าจะทำโครงการเสร็จภายในสิ้นเดือนมีนาคม)
By 10.00 pm. I will be on the plane flying to Greece
(สี่ทุ่มนี้ฉันคงอยู่บนเครื่องบินไปกรีซ)


during เป็นคำบุพบท (preposition) เช่นกัน หมายถึง ช่วงเวลานั้นๆ เช่น
Kim enjoyed travelling around the world during the summer.
(คิมสนุกสนานกับการท่องเที่ยวรอบโลกในช่วงฤดูร้อน)
หรือ บางกรณีไม่ใช้คำบอกเวลา แต่ใช้คำนามตามมาเพื่อหมายถึง ช่วงเวลาที่ทำกิจกรรมนั้นๆ เช่น
During our lunch we met a super star.
(ระหว่างที่เรารับประทานอาหารกลางวัน เราเจอดารา)


for เป็นคำบุพบทใช้กล่าวถึงระยะเวลาว่าเหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้นดำเนินอยู่นานแค่ไหน เช่น
Mike has spent time at Pee Pee Island for the weekend
(ไมค์ใช้เวลาที่เกาะพีพีในช่วงสุดสัปดาห์)
Bill plans to attend a seminar for 2 days.
(บิลวางแผนไปเข้าร่วมสัมมนาเป็นเวลา 2 วัน)
I have been waiting here for ages.
(ฉันรออยู่นี่ชาตินึงแล้ว - คำว่า for ages เป็นสำนวนแสดงความรู้สึกว่านานมากๆ


since เมื่อพูดถึง for แล้ว คำที่ขาดไม่ได้ต้องพูดต่อไปด้วยเลย คือ since คำนี้ที่มีความหมายว่าตั้งแต่
I have worked here since 2004
(ฉันทำงานที่นี่มาตั้งแต่ปี 2004)
She left home since she was 18.
(เธอออกจากบ้านตั้งแต่เธออายุ 18)

กำลังเล่าไปเพลินๆมีอันต้องหยุดชะงักก่อนนะคะ ฝนตั้งเค้ามาต้องหยุดเล่าไปเก็บผ้าก่อน อยากหยุดเวลาไว้เพื่อจะทำอะไรที่อยากทำ แต่เป็นไปไม่ได้ก็คงต้องเอาไว้แค่นี้ก่อน แล้วค่อยคุยกันใหม่นะคะ

ช่วงเวลาที่ดีที่สุด


คราวก่อนอ่านเวลากันได้แล้ว คราวนี้มาคุยต่อเรื่องเวลาแต่ไม่อ่านนาฬิกาแล้วนะคะ มาพูดเรื่องช่วงเวลากันดีกว่า การกล่าวถึงช่วงเวลาในภาษาอังกฤษเขาใช้ Preposition หรือ คำบุพบทที่เฉพาะเจาะจงไปเป็นช่วงๆ เลยค่ะ มีใช้กันหลายคำ แต่ที่สำคัญๆ ครั้งนี้จะกล่าวถึงแค่ 3 คำคือ in, on และ at เท่านั้นค่ะ
in ใช้กล่าวถึงช่วงเวลาระยะหนึ่ง เช่น
ช่วงหนึ่งของวัน in the morning, in the afternoon, in the evening
ช่วงเดือนใดเดือนหนึ่ง in December, in June
ช่วงฤดูกาล เช่น in (the) summer, in (the) winter
ช่วงปีใดปีหนึ่ง เช่น in 2009, in 1980s (ในช่วงเวลา1980-1989 ที่เรียกกันว่ายุค eighties ไงคะ)
หรืออาจใช้กับการกล่าวถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคตก็ได้ แต่เน้นความหมายเป็นช่วงเวลา เช่น in the past, in the 20th century, in the future
on ใช้กับวันและวันที่ เช่น
on Tuesday, On October 7, on my birthday, on Christmas Day, on Saturday night, on Monday morning
at ใช้กับเวลาที่เฉพาะเจาะจง เช่น
at 4.30 pm, at noon, at night, at midnight, at the moment, at dawn (เมื่อรุ่งอรุณ), at dusk (เมื่อโพล้เพล้), at present, at sunset (เมื่อตะวันตกดิน), at lunchtime (เมื่อเวลาอาหารกลางวัน)
การใช้บุพบท 3 ตัวนี้ กับการเวลาต้องสังเกตและใช้บ่อยๆ มันจะชินไปเองค่ะ ลองใช้ 3 คำนี้เติมประโยคต่อไปนี้ดูนะคะ มีเฉลยด้านล่างค่ะ ห้ามดูก่อนนะคะ
1. I’ll meet you …... midnight.
2. I was born …… 1980.
3. He gave me this ring …… our 10th anniversary.
4. She learned to speak English …… six months’ time.
5. They won’t be here …… the morning but they’ll come …… noon.
6. His house and mine were built …… the same time.
7. Mary and John liked to hang out together …… the evening.
8. Sarah will leave …… Jan. 12 next year.
9. All my beloved teachers will retire …… a five years’ time
10. …… Friday night I went to bed …… 1.00 am.
ต่อไปนี้เป็นคำตอบพร้อมอธิบายค่ะ
1. at เพราะระบุเวลาเฉพาะเจาะจงที่เที่ยงคืนไงคะ
2. in ใช้กับปี ค.ศ. ก็ต้องเป็นคำนี้แหละค่ะ แต่ถ้ามีวันที่ร่วมด้วยจะต้องใช้ on
3. on ใช้กับวันสำคัญไงคะ anniversary คือวันครบรอบในที่นี้น่าจะเป็นครบรอบแต่งงานปีที่ 10
4. in ค่ะเพราะใช้ช่วงเวลาในการเรียน 6 เดือน
5. คำแรก in เพราะใช้กับช่วงเวลาของวัน คำหลังใช้ at เพราะเฉพาะเจาะจงไปเลย
6. at ค่ะ จำไว้เลยว่า at ใช้กับ the same time
7. in อยู่แล้ว เพราะเป็นช่วงเวลาช่วงหนึ่งของวัน
8. on ในกรณีมีวันที่อยู่กับปีใช้ on ไงคะอย่าลืม
9. in ค่ะ เพราะใช้ระยะเวลาซักพักหนึ่งไม่ได้ชี้ปุ๊บปั๊บ
10. On Friday night ตามด้วย at 1.00 am บอกเวลาใช้ at ไงคะ
แถมท้ายก่อนไป คำว่า in time หมายถึง ก่อนระยะเวลาที่กำหนด on time ตรงระยะที่กำหนดเป๊ะเลย เช่น ถ้าครูสั่งให้นักเรียนมาร่วมกิจกรรมตอน 8 โมงเช้า
Helen came on time (She came at 8.00)
Nora came in time (She came at 7.45)
หวังว่าการอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้บุพบท 3 ตัวนี้ในการบอกเวลาจะเป็นช่วงหนึ่งที่ดีของวันของท่านผู้อ่านนะคะ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ทันแล้วละ คุณอ่านมาจนจบแล้ว สวัสดีค่ะ

เวลาจะช่วยอะไร


เวลาจะช่วยอะไรใครได้แค่ไหนไม่รู้ละ แต่ถ้าเราอ่านเวลาไม่ออก เราช่วยตัวเองไม่ได้ในหลากหลายสถานการณ์ เช่น นัดเวลากับหมอ หรือนัดสัมภาษณ์งาน ตลอดจนถามเวลาเพื่อการเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น ครั้งนี้เรามาดูกันว่าในภาษาอังกฤษเขาอ่านเวลาอย่างไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า บนหน้าปัทม์นาฬิกามี 12 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงเวลามี 24 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น เขาเลยใช้ a.m. กับ p.m. มาช่วยบอกว่าตอนนี้เป็นช่วงเวลาไหนของวันและเพื่อความสะดวกง่ายดายไม่ผิดพลาดแน่ ๆ

ขอให้เรียก 12:00 น. เป็นคำพูดซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปว่า (at) noon คือ เที่ยงวัน และ(at) midnight คือ เที่ยงคืน
a.m. คือเวลาตั้งแต่หลังเที่ยงคืนไปจนถึงก่อนเที่ยงวัน (เช้า-สาย)
p.m. คือเวลาตั้งแต่หลังเที่ยงวันไปจนถึงก่อนเที่ยงคืน (บ่าย-ดึก)

รู้เท่านี้แล้วก็อ่านตัวเลขตามที่เห็นเลยค่ะ มาลองดูเลย
1:00 a.m. one o’clock a.m. หรือตีหนึ่ง
2:30 a.m. two-thirty a.m. หรือตีสองครึ่ง อ่านตามตัวเลขเลยนะคะ
3:46 a.m. three–forty–six a.m. หรือตีสามกับสี่สิบหกนาที
10:02 a.m. ten-o-two a.m. หรือสิบนาฬิกากับสองนาทีตอนสาย ๆ ไงคะ
11:59 a.m. eleven-fifty-nine a.m. อีก 1 นาทีจะเที่ยงวันนะคะ และต่อไป
at noon เที่ยงวันค่ะ
1:00 p.m. one o’clock p.m. ตอนนี้บ่ายโมงค่ะ ภาษาอังกฤษก็เรียก one o’clock เหมือนตอนตี 1 แต่ p.m. และ a.m. เป็นตัวช่วยบอกว่าเป็นช่วงเวลาไหนของวันไงคะ ของไทยเราก็เป็น 13.00 น. แต่ในภาษาอังกฤษไม่มีนะคะ

นี่แหล่ะค่ะวิธีอ่านเวลาอย่างง่าย แบบนี้เป็นการอ่านแบบอเมริกันค่ะ ถ้าอ่านแบบอังกฤษจะมีรายละเอียดปลีกย่อยซับซ้อนกว่านี้ค่ะ เอาไว้คุยต่อฉบับหน้านะคะ อ่านแบบนี้หลายคนที่จะไปต่างประเทศคงหวั่นใจว่าจะอ่านเวลาเครื่องบินได้ถูกไหม สบายใจได้ค่ะ เดี๋ยวนี้การเดินทางโดยสายการบินเปลี่ยนเวลามาเรียกเป็น 24 ชั่วโมง แบบไทยแล้วค่ะ ดูตามตั๋วแล้วอ่านตามตัวเลขที่เห็นได้เลย ส่วนเวลาบนเครื่องบินเขาประกาศตามที่บอกตอนต้นค่ะ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

อ่านตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ


การอ่านตัวเลขเป็นสิ่งที่ไม่ยาก แต่ถ้าเจอมาก ๆ บางทีก็สับสน เป็นต้นว่าถ้าเราอ่านเลข 1- 100 เนี่ยสบาย ๆ อ่านได้หมด แต่พอขึ้นหลักหมื่น หลักแสน หรือถ้าหลายสิบล้านชักไม่มั่นใจ วันนี้จะเสนอวิธีการอ่านตัวเลขแบบง่าย ๆ อ่านได้ด้วยความมั่นใจค่ะ แต่ก่อนอื่นต้องอ่านเลข 1-999 ได้ถูกต้องมั่นใจก่อนนะคะ ถ้าอ่านแค่นี้ได้ที่เหลือใช้เทคนิคนี้เลย


คือถ้ามี 4 หลักขึ้นไปให้ใส่เครื่องหมาย , ซะให้เรียบร้อยแล้วอ่านตรง , ว่า thousand ค่ะ เช่น


225 = two hundred twenty-five
225,000 = two hundred twenty-five thousand


แต่ถ้าหลัง , เป็นตัวเลขอีก ก็อ่านไปตามนั้นเลยคะ ตั้งสติไว้ไม่ต้องกลัวแบ่งทีละ 3 ตัวเลขแค่นั้นเลย ง่ายมาก ๆ จริงไหมคะ ลองใหม่ค่ะ อ่านเองก่อนนะคะแล้วค่อยดูเฉลย


18,367 (eighteen thousand three hundred sixty–seven)


อ่านได้ใช่มั้ยคะ ทีนี้ถ้าเลขเกิน 6 หลัก ก็ใส่ , ให้ถูกที่ถูกทางแล้วอ่าน , ตัวใหม่ว่า million ค่ะ


4,0009,032 (four million nine thousand and thirty-two)


อย่าสับสนกับตัวท้ายว่าจะใส่ and หรือไม่ and อย่างไรก็ได้ค่ะ ลองอ่านอีกชุดนะคะ


123,456,789(one hundred twenty-three million four hundred fifty-six thousand seven hundred eighty-nine)


ไงคะอ่านได้ใช่ไหม แล้วถ้าเพิ่มอีก 3 ตัวข้างหน้าก็อ่าน , ตัวใหม่ว่า billion ค่ะ แค่นี้คงพอใช้การได้นะคะ นี่ค่ะจำง่าย ๆ ว่าอ่านทีละ 3 ตัว แล้วอ่าน , ไปตามตำแหน่ง


xxx, (billion) xxx, (million) xxx, (thousand)

ก็ขอให้ทุกท่านที่ฝึกอ่านด้วยความตั้งอกตั้งใจได้มีโอกาสใช้ความรู้นี้ในการอ่านตัวเลขในบัญชีธนาคารของท่านนะคะ ไม่รู้ว่าจะทำมาหากินอะไรถึงรวยนัก อย่าขายชาติ อย่าขายยาบ้าและให้ได้เงินมาอย่างสุจริตก็แล้วกัน

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Those interesting verbs (ต่อ)





คราวก่อนนำเสนอคำกริยาไป 4 คำที่มีความหมายชวนให้หลงผิด คราวนี้มาต่อกันชัดๆเลยว่าเขียนแบบนี้แปลว่าอะไร เวลานำไปใช้จะได้ไม่พลาด ใช้วิธีจำง่ายๆว่า ถ้าเป็น กริยานั้นเฉยๆ แปลว่า ทำให้ ... ถ้ามี verb to be นำหน้า เติม ed ตรงท้ายคำมีความหมายว่ารู้สึก… แต่ถ้าเป็น ing แปลว่า น่า ... ดูกันให้จะๆเลย

That house fascinates me. (บ้านนั้นทำให้ฉันหลงใหล)
I’m so fascinated in that house. (ฉันหลงใหลบ้านนั้นมากๆ)
It’s very fascinating. (มันช่างน่าหลงใหลเหลือเกิน)

They bore me. (พวกเขาทำให้ฉันเบื่อ)
I’m bored. (ฉันรู้สึกเบื่อ)
They’re boring. (พวกเขาช่างน่าเบื่อ)

They amaze me.(พวกเขาทำให้ฉันทึ่ง)
I’m amazed. (ฉันรู้สึกทึ่ง)
They’re amazing. (พวกเขาช่างน่าทึ่ง)

He confuses me. (เขาทำให้ฉันสับสน)
I’m confused. (ฉันสับสน)
He’s confusing. (เขาช่างเป็นคนที่ทำให้อะไรๆมันสับสนไปหมด)

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

Those interesting verbs






คำกริยาในภาษาอังกฤษกลุ่มหนึ่ง มักมีผู้ใช้ผิดเสมอ เพราะความหมายของมันไม่ธรรมดา เป็นกลุ่มคำที่น่าสนใจและควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ คำกริยากลุ่มนั้นได้แก่คำว่า
interest ซึ่งไม่ได้แปลว่าสนใจ แต่แปลว่า ทำให้สนใจ
annoy แปลว่า ทำให้รำคาญ
bore แปลว่า ทำให้เบื่อ
surprise แปลว่า ทำให้ประหลาดใจ เป็นต้น
ดังนั้นถ้าเราจะบอกว่าเราสนใจ เราต้องเติมองค์ประกอบให้อยู่ในรูป passive voice ว่า
I am interested. (ฉันถูกทำให้สนใจ) ซึ่งมีความหมายว่า ฉันสนใจ
และ I’m annoyed. แปลว่าฉันรำคาญ
I’m bored. แปลว่าฉันเบื่อ
I’m surprised. แปลว่าฉันประหลาดใจ

และถ้าอยากจะบอกว่าอะไรซักอย่างมันน่าสนใจ เราใช้ว่า It’s interesting.
It’s annoying. (มันน่ารำคาญ)
It’s boring. (มันน่าเบื่อ)
It’s surprising. (มันน่าประหลาดใจ)


จะใช้คำในกลุ่มนี้ ก็ระวังดีๆนะคะ เพราะไม่งั้นใช้ผิด แทนที่จะบอกว่า “ตูละเบื่อ (I’m bored.)” ดันไปพูดว่า “I’m boring”. (ตูมันน่าเบื่อ)”
เฮ้อรู้ตัวแล้วยังมีหน้ามาพูดอีก

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

นพวรรณรำพึง

มีนิสิตบางคนมาขอให้เอางานที่เขียนลงในสารศึกษาศาสตร์มารวมไว้ให้อ่าน ก็อยากจะเอาใจนะคะ แต่บอกตามตรงว่าเวลาเขียนเรื่องราวเหล่านั้นใช้ดินสอเขียน แล้วไปส่งต้นฉบับด้วยลายมือเลย บรรณาธิการเขาจัดการให้เองเรื่องพิมพ์ เพราะพิมพ์เองช้ามาก แรกๆเขาส่งต้นฉบับมาให้ดูหลังจากพิมพ์เสร็จแล้ว ดิฉันก็แค่ตรวจดูว่ามีอะไรพิมพ์ผิดหรือเปล่า หรือจะปรับเปลี่ยนแก้ไขตรงไหน ดูเสร็จก็จัดการ save ไว้เสร็จสรรพ เอามาไว้ใส่บล็อคได้สบายแฮ แต่หลังๆมานี่เขาพิมพ์มาแบบคัดลอกมาใช้ต่อไม่ได้ จะย้ายมาแปะไว้ที่นั่นที่นี่ไม่ได้ เลยจนใจ ไม่ว่างพิมพ์นะคะ ก็เอาเป็นว่าอันไหนใส่ได้ก็ใส่ให้หมด ไม่มีหวง แต่อันหลังๆ ไปหาอ่านในสารศึกษาศาสตร์ละกันนะคะ หรือถ้าใครศรัทธาแรงกล้าจะช่วยพิมพ์มาให้ก็ยินดีจะนำขึ้นบล็อคให้อยู่แล้ว ก็ดูเท่าที่มีไปก่อนละกันนะคะ

ภาพประกอบมันออกแนวโบราณไปหน่อยนะ ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องเลยแต่ดิฉันชอบน่ะ สวยดี เหมือนภาพฝันหวานแหวว โดนใจวัยกลางคนอย่างดิฉันน่ะค่ะ เลยขอมาใส่ไว้สวยๆเล่น มีอะไรอ๊ะเปล่า ภาพล่างนี้ไง สวยไหมเล่า ดูดีๆนะภาพนี้มีอะไรแปลกไหมเอ่ย